DHCP Server นิยมใช้กับห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมากๆ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเครื่องลูกข่าย หรือความหมายง่ายๆ คือ การตั้งค่าระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัตินั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีโปรแกรมทำสามารถใช้ทำเป็น DHCP Server ได้โปรแกรม ตัวที่ขอแนะนำสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.isc.org ในเว็บไซต์ก็จะมีหลายเวอร์ชั่นให้เลือกใช้ (ปัจจุบัน คือ DHCP 4.0.0) ผมขอแนะนำ http://ftp.isc.org/isc/dhcp/dhcp-4.0.0.tar.gz เป็นเวอร์ชั่น 4.0.0 หล่ะกันเริ่มเลยนะครับ
หลักการทำงานของ DHCP Server (Lease Generation Process)
โปรโตคอลที่ใช้ในการทำงานของ DHCP ส่วนใหญ่เป็นลักษณะบรอดคาสต์ ซึ่งกระบวนการจ่าย IP Address นี้ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ที่ไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์จะติดต่อกันจนกระทั่งสุดท้าย ไคลเอนต์ DHCP ได้รับไอพีแอดเดรสที่ไม่ซ้ำกับ Host อื่นๆ ตลอดจนค่าคอนฟิกกูเรชั่นอื่นมาใช้งาน มีดังต่อไปนี้1. DHCPDiscover เริ่มจากเมื่อเปิดเครื่องไคลเอนต์ขึ้นมา ก็จะถูกกำหนดให้ Obtain an IP address automatically ในหน้าจอ TCP/IP Properties ก็จะบรอดคาสต์เมสเสจ DHCPDISCOVER ออกไป ซึ่งจะไปถึงยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กเซกเมนต์ และยังส่งหมายเลขแอดเดรส MAC ของการ์ดเน็ตเวิร์ก และชื่อแบบNetBIOS ของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย
2. DHCPOffer เครื่อง DHCP Server บอกไคลเอนต์ว่าตัวเองสามารถจัดสรร IP Address ให้ได้ เมจเสจของเซิร์ฟเวอร์เครื่องใดไปถึงยังไคลเอนต์ก่อนก็จะถูกเลือกใช้งานโดยไคลเอนต์ (First-Come-First Serve)
3. DHCPRequest เป็นการตอบรับไปยังเซิร์ฟเวอร์ ตอนนี้ไคลเอนต์เองก็ยังไม่ได้รับไอพีแอดเดรส ดังนั้นการตอบกลับนี้ก็ยังจำเป็นต้องเป็นแบบ “บรอดคาสต์”
4. DHCPAck เมื่อได้รับข้อมูลยืนยันเรียบร้อยแล้ว เซิร์ฟเวอร์จะตอบกลับไปยังไคลเอนต์ประกอบด้วยข้อมูล IP Address ที่จัดสรรให้ไคลเอนต์ ตลอดจนค่าคอนฟิกูเรชั่นอื่นๆ
-- Router ของ Cisco มี IOS DHCP server ในตัว Router ด้วยนะ